ปรากฏการณ์ข้างขึ้น-ข้างแรม



ปรากฏการณ์ข้างขึ้น-ข้างแรม (Lunar's Phases)

     ปรากฏการณ์ข้างขึ้น-ข้างแรม เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดจากดวงจันทร์โคจรรอบโลก แล้วทำให้ผู้สังเกตที่อยู่บนโลก มองเห็นแสงที่เกิดจากการสะท้อน จากดวงอาทิตย์แตกต่างกันไป เราเรียกปรากฏการณ์ดังกล่าวว่า "ปรากฏการณ์ข้างขึ้น-ข้างแรม" (Lunar's Phases)
     ปัจจุบัน เราทราบว่า ดวงจันทร์โคจรรอบโลกของเราด้วยระยะทางเฉลี่ยประมาณ 384,000 กม. ในทิศเดียวกับการหมุนของโลก ใช้เวลาประมาณ 27.3 วันต่อรอบ (เมื่อเทียบจากจุดเดิม)

ปรากฏการณ์ข้างขึ้น
     เมื่อดวงจันทร์โคจรผ่านระหว่างโลกและดวงอาทิตย์ เราก็จะไม่เห็นดวงจันทร์ แต่เมื่อดวงจันทร์เคลื่อนที่ไป เราจะค่อยๆเห็นเสี้ยวของดวงจันทร์ เราเรียกว่า "ปรากฏการณ์ข้างขึ้น" ชาวอียิปต์โบราณได้สังเกต และกำหนดให้วันที่เริ่มเห็นแสงจากเสี้ยวดวงจันทร์ เป็นวันแรกของปฏิทินแบบจันทรคติของแต่ละเดือน
ช่วงข้างขึ้นจะแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ

ช่วงแรก (New Moon Phase):

     เราจะเริ่มเห็นเสี้ยวของดวงจันทร์ทางขอบฟ้าทิศตะวันตก หลังพลบค่ำไปแล้ว โดยจะค่อยๆเห็นดวงจันทร์มากขึ้น และจะเห็นสูงขึ้นวันละประมาณ 12 องศา และจะเห็นดวงจันทร์ตกทางขอบฟ้าทิศตะวันตกช้าลง วันละประมาณ 50 นาที ช่วงนี้ภาษาอังกฤษเรียกว่า "Waxing Crescent
ช่วงสอง (First Quarter Phase):     ประมาณ 1 สัปดาห์หลังจากเริ่มปรากฏการณ์ข้างขึ้น เราจะเห็นดวงจันทร์ประมาณครึ่งดวง หันด้านนูนไปทางทิศตะวันตก โดยจะเห็นสูงสูงกลางท้องฟ้าเยื้องไปทางซีกโลกใต้ ในช่วงหัวค่ำ และจะค่อยๆลับขอบฟ้าทางทิศตะวันตกช่วงเที่ยงคืน ช่วงนี้ ภาษาอังกฤษเรียกว่า "Waxing Gibbous"

เมื่อจันทร์เต็มดวง หรือจันทร์เพ็ญ (Full Moon Phase)
    ประมาณ 2 สัปดาห์หลังจากเริ่มปราฏการณ์ข้างขึ้น เราจะเห็นจันทรเต็มดวง เหนือขอบฟ้าทิศตะวันออกตั้งแต่ช่วงค่ำ โดยจะเห็นได้ตลอดคืน จนกระทั่งดวงจันทร์ลับขอบฟ้าทิศตะวันตก ในช่วงเช้า
     ดวงจันทร์เต็มดวง เป็นที่มาของวันสำคัญต่างๆ เช่น วันมาฆบูชา (ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 หรือ 4),วันวิสาขบูชา (ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 หรือ 7), วันลอยกระทง (วันเพ็ญ เดือน 12) เป็นต้น

ปรากฏการณ์ข้างแรม
เมื่อดวงจันทร์โคจรผ่านหลังโลกในทิศตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์จะค่อยๆแหว่งไปทีละน้อย เราเรียกว่า "ปรากฏการณ์ข้างแรม"
ช่วงข้างแรมจะแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ

ช่วงแรก:

      เราจะเริ่มเห็นดวงจันทร์แหว่งทีละน้อย และจะค่อยๆเริ่มเห็นดวงจันทร์ทางทิศตะวันออกช้าลง วันละประมาณ 50 นาที ช่วงนี้ภาษาอังกฤษเรียกว่า "Waning Gibbous"
ช่วงสอง (Third Quarter Phase):     ประมาณ 1 สัปดาห์หลังจากเริ่มปรากฏการณ์ข้างแรม เราจะเห็นดวงจันทร์ประมาณครึ่งดวง หันด้านนูนไปทางทิศตะวันออก โดยจะเริ่มเห็นดวงจันทร์ทางทิศตะวันออก หลังเที่ยงคืนไปแล้ว โดยจะค่อยๆเคลื่อนสูงขึ้น จนสูงสุดบนท้องฟ้าเมื่อดวงอาทิตย์ขึ้นในช่วงเช้า หลังจากนั้น เราก็จะเริ่มเห็นดวงจันทร์ทางทิศตะวันออกช้าลง วันละประมาณ 50 นาที และจะเห็นจุดสูงสุดก่อนดวงอ่าทิตย์ขึ้น ลดลงวันละประมาณ 12 องศา ช่วงนี้ ภาษาอังกฤษเรียกว่า "Waning Crescent"

ระยะเวลาปรากฏการณ์ข้างขึ้น-ข้างแรมในแต่ละรอบ
     ปรากฏการณ์ข้างขึ้น-ข้างแรมนี้ เวลาในแต่ละรอบจะนานกว่าคาบการเคลื่อนที่รอบโลกของดวงจันทร์ เนื่องจากเมื่อดวงจันทร์โคจรรอบโลกครบ 1 รอบ โลกได้เคลื่อนที่ไปจากตำแหน่งนั้นแล้ว (หรือเมื่อมองจากโลก ก็คือ ดวงอาทิตย์ได้เคลื่อนที่ ไปจากตำแหน่งเดิมนั้นแล้ว) ดังนั้น ดวงจันทร์จะมาอยู่ระหว่างโลกและดวงอาทิตย์อีกครั้งให้เราเห็น "จันทร์ดับ" ก็ต่อเมื่อดวงจันทร์ต้องเคลื่อนที่ไปอีกเล็กน้อย รวมทั้งสิ้นประมาณ 29.5 วันต่อรอบนั่นเอง

ทำไมเราเห็นดวงจันทร์ชี้ปลายวงพระจันทร์ขึ้นฟ้า

     ในขณะที่ข้างขึ้นนั้น เราจะเห็นเสี้ยวของดวงจันทร์หันด้านนูนไปทางทิศตะวันตก และหันปลายวงพระจันทร์ขึ้นข้างบน คล้ายเขาควายหงายเมื่อเทียบกับขอบฟ้า ในขณะที่ผู้สังเกตดวงจันทร์ที่บนซีกโลกเหนือจะเห็นดวงจันทร์ตะแคง เนื่องจากประเทศไทยของเรา อยู่ใกล้กับเส้นศูนย์สูตรนั่นเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น